คำอธิบาย
ชื่อหนังสือ: | Poor Economics: A Radical Rethinking of the Way to Fight Global Poverty |
เศรษฐศาสตร์ความจน | |
ผู้เขียน: | Abhijit V. Banerjee และ Esther Duflo |
ผู้แปล: | ฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ |
ออกแบบปก: | น้ำใส ศุภวงศ์ |
หมวด: | เศรษฐศาสตร์ / สังคมศาสตร์ |
ISBN: | 978-616-8266-12-0 |
จำนวนหน้า: | 384 หน้า |
ราคา: | 360 บาท |
Preview: | อ่านตัวอย่างหนังสือ คลิกที่นี่ |
เนื้อเรื่องย่อ:
มายาคติมากมายที่ครอบความคิดเราที่มีต่อ ‘ความจน’ และ ‘คนจน’ ว่าคนจนต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือคนจน ที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นการมองคนจนจากบนลงล่าง ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ทำให้การแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเท่าที่ควร แล้วทำเราจะทำอย่างไรให้คนจนสามารถก้าวผ่านความจนไปได้?
มายาคติเหล่านี้อาจเกิดจากการที่เรายังไม่ได้ทำความเข้าใจพวกเขาดีพอ…
อภิชิต เบเนอร์จี และ เอสแตร์ ดูโฟล สองนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2019 ที่ได้ลงพื้นที่ไปทำงานกับคนจนทั่วโลก นำงานวิจัยทั้งของพวกเขาเองและของนักวิจัยคนอื่นๆ มาร้อยเรียงเป็นหนังสือ “เศรษฐศาสตร์ความจน” ผ่านการคิดวิเคราะห์ หลักฐานเชิงประจักษ์ และการทดลองที่รัดกุม เพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่เรื่องแรงจูงใจ พฤติกรรม ไปจนถึงการตัดสินใจของคนจนต่อเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ทั้งเรื่องการเลือกอาหาร เรื่องสุขภาพ เรื่องการศึกษา เรื่องการออมเงิน ฯลฯ ทุกๆ มิติทางสังคมที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ล้วนเป็นเรื่องราวทั่วไปที่ทุกคนต้องพบเจอในชีวิต ยิ่งตอกย้ำทำให้เห็นชัดเจนว่า เราทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน คนจนก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเงื่อนไขและปัจจัยที่เราต้องเจอนั้นแตกต่างกัน ทำให้เราตัดสินใจต่างกันเท่านั้นเอง
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ดำเนินนโยบาย เป็นนักการเมือง หรือเป็นคนธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับธุรกิจใดเลยก็ตาม บทเรียนจากทั่วโลกโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลนี้ จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ เข้าใจวิธีคิด วิธีมองโลกของคนจนมากขึ้น และจะไม่ตกอยู่ภายใต้มายาคติที่บังตาเกี่ยวกับความจนอีกต่อไป
“เศรษฐศาสตร์ความจน” จะทำให้คุณเข้าอกเข้าใจคนจน แรงจูงใจ และพฤติกรรมของคนจนอย่างแท้จริง