รายละเอียดเพิ่มเติม
ชื่อหนังสือ: | On Ethics and Economics |
จริยเศรษฐศาสตร์ | |
ผู้เขียน: | Amartya Sen |
ผู้แปล: | สฤณี อาชวานันทกุล |
หมวด: | ปรัชญา / เศรษฐศาสตร์ |
ISBN: | 978-616-93076-8-6 |
จำนวนหน้า: | 184 หน้า |
ราคา: | 260 บาท |
Preview: | อ่านตัวอย่างหนังสือ คลิกที่นี่ |
“เซนเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างแท้จริง ในทางปฏิบัติแล้ว เขาได้สร้างสาขาใหม่ของวิชา…ซึ่งวันหนึ่งอาจเปลี่ยนเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไปจนไม่มีใครจำได้” – The Economist
“เซนไม่เคยยอมรับในเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างเศรษฐศาสตร์และจริยศาสตร์ เขานำเอาข้อโต้แย้งทางปรัชญามาส่งเสริมในที่ที่จำเป็นต้องใช้ในเศรษฐศาสตร์ และผสมผสานมันเข้าด้วยกันอย่างเชี่ยวชาญด้วยการวิเคราะห์แบบแผน (formal analysis)” – London Review of Books
เนื้อเรื่องย่อ :
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่เลือดเย็นและเห็นแก่ตัว…
หลายคนรู้สึกแบบนั้น เพราะความเชื่อหลักที่หยั่งรากลึกของเศรษฐศาสตร์ทุกวันนี้มักไม่พ้น “มีเพียงการบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม” หรือ “มีเพียงการยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งเท่านั้น ที่เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล”
ผลงานคลาสสิกของนักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบล ปี 1998 อย่าง อมาตยา เซน ได้ตั้งคำถามต่อความเชื่อเหล่านั้น พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันเน้นแต่มิติทางวิศวกรรมศาสตร์ แต่ไม่มีพื้นที่ให้กับ จริยศาสตร์ ทั้งที่ครั้งหนึ่งก็เป็น ‘ต้นกำเนิด’ ของเศรษฐศาสตร์เช่นกัน
จริยเศรษฐศาสตร์ รวบรวมแก่นความคิดของเซนที่ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ต่อความเชื่อพื้นฐานข้างต้น ซึ่งผ่านมาหลายทศวรรษก็ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง นอกจากนี้ยังฉายให้เห็นการใช้เหตุผลที่รัดกุมรอบคอบเยี่ยงนักปรัชญาที่ดี
กระนั้น เซนมิได้ปฏิเสธการเน้นกลไกเชิงวิศวกรรมศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์ แต่เขาเชื่อว่าหากเราพาจริยศาสตร์กลับมารวมไว้ในเศรษฐศาสตร์ได้ ก็จะทำให้เศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมที่แท้จริงของมนุษย์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
และดังนั้นจึงจะทำให้เศรษฐศาสตร์เป็นประโยชน์มากขึ้นต่อสังคม