รายละเอียดเพิ่มเติม
ชื่อหนังสือ: | Moral Tribes: Emotion, Reason, and the Gap Between Us and Them |
พวกฉัน พวกมัน พวกเรา | |
ผู้เขียน: | Joshua Greene |
ผู้แปล: | วิสาลินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส |
ออกแบบปก: | wonderwhale |
หมวด: | ปรัชญา / สังคมศาสตร์ / จิตวิทยา |
ISBN: | 978-616-8266-09-0 |
จำนวนหน้า: | 552 หน้า |
ราคา: | 485 บาท |
Preview: | อ่านตัวอย่างหนังสือ คลิกที่นี่ |
เนื้อเรื่องย่อ:
“ความขัดแย้ง” หนึ่งในปัญหาที่ทุกสังคมต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นสังคมของในทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่มีคนเลี้ยงสัตว์หลากหลากกลุ่มอาศัยอยู่ และใช้พื้นที่ทุ่งหญ้านั้นร่วมกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีค่านิยมในแบบของตัวเอง รวมถึงสังคมปัจจุบันที่คนทุกกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าการแบ่ง “พวกฉัน” และ “พวกมัน” ด้วยค่านิยมที่ต่างกันชัดเจนและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และการแบ่งพรรคพวกด้วยความแตกต่างนั้น ทำให้เราต้องมาฟาดฟันกันเอง เราทะเลาะกันได้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จนบางครั้งความขัดแย้งนี้นำมาซึ่งเลือดเนื้อและชีวิตที่สูญเสียไป
ทำให้เราตั้งคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหม ที่จะเราค้นพบจุดที่จะเข้าใจตรงกันในทุกๆ เรื่อง?
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมตัวกันของประสาทวิทยา จิตวิทยา และปรัชญา โดยเปิดเผยทั้งต้นตอปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบันและหนทางที่เราควรจะไปต่อ ผู้เขียนเปรียบเทียบสมองของมนุษย์เป็นกล้องสองระบบที่ตั้งค่าได้ทั้งระบบอัตโนมัติ และระบบควบคุมด้วยตนเอง โดยระบบอัตโนมัติเปรียบเสมือนอารมณ์ ที่ได้มาจากวิวัฒนาการ วัฒนธรรม และประสบการณ์ส่วนตัว ระบบควบคุมด้วยตนเองของสมองก็เป็นเหมือนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หาเหตุผล ทำให้ความคิดของเรายืดหยุ่น อารมณ์อัตโนมัติทำให้เราเป็นสัตว์สังคม เปลี่ยนให้ ฉัน เป็นเรา แต่ก็สั่งการให้เราอยู่กันเป็นกลุ่มได้เช่นกันโดยทำให้ พวกเรา เห็นต่างจาก พวกมัน
เราจะเข้ากับ พวกเขา ได้อย่างไรในเมื่อสิ่งที่พวกเขาต้องการมันขัดแย้งรุนแรงกับ พวกเรา และวิธีใดที่จะช่วยนำทางเราผ่านมุมมองศีลธรรมของโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและให้ดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น