ชื่อหนังสือ: | The Happiness Hypothesis: Finding Modern Truth in Ancient Wisdom |
วิทยาศาสตร์แห่งความสุข: สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ |
|
ผู้เขียน: | Jonathan Haidt |
ผู้แปล: | โตมร ศุขปรีชา |
หมวด: | จิตวิทยา/ พัฒนาตนเอง |
ISBN: | 978-616-93076-6-2 |
จำนวนหน้า: | 432 หน้า |
ราคา: | 450 บาท |
“การรักษาของเฮดต์ต่ออาการที่วรรณกรรมแนวช่วยเหลือตัวเองนั้นทั้งไม่น่าสนใจและมีมากเกินไปในยุคสมัยใหม่นี้ก็คือการกลับไปตรวจสอบและทบทวนวรรณกรรมคลาสสิก การพินิจพิจารณาความคิดของนักคิดอย่างเพลโต พระพุทธเจ้า และพระเยซู ไปตามความเป็นจริงของการวิจัยสมัยใหม่ที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์ และพร้อมๆ กันนั้น เฮดต์ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาสังคม ก็ได้มอบให้เราซึ่งคำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริงในเรื่องการเลี้ยงดูบุตรหลาน ความรัก การทำงาน และการรับมือกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองที่ครอบงำประเทศ โดยส่วนใหญ่แล้ววิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เขาสรุปย่อมานั้นจะยืนยันซึ่งความจริงของปรีชาญาณโบราณ แต่เฮดต์ก็พบว่ามีอยู่หลายกรณีที่ความคิดทั้งสองยุคนี้ไม่ลงรอยกัน ซึ่งเขาก็แนะนำว่าหนทางที่แน่นอนที่สุดสู่ความสุขก็คือการโอบรับและสร้างสมดุลให้แก่ทั้งความคิดสมัยเก่าและสมัยใหม่นั่นเอง”
– Psychology Today
เนื้อเรื่องย่อ:
คำถามที่มนุษย์ถามตัวเองมาทุกยุคทุกสมัยก็คือ – ความสุขมาจากไหน
และต้องทำอย่างไรเล่า เราถึงจะมีความสุข
โจนาทาน เฮดต์ นักจิตวิทยาสังคม ผู้ศึกษาระบบศีลธรรมมายาวนาน พยายามตอบคำถามทั้งสองข้อด้วยหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้พาเราท่องไประหว่างสรรพสิ่ง
ระหว่างภูมิปัญญาโบราณ ตั้งแต่ขงจือ พระพุทธเจ้า พระเยซู กับการค้นพบของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่
ระหว่างการทำงานของจิตอันล้ำลึก และการทำงานของสมองผ่านระบบประสาท
ระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกที่มีทั้งความเหมือนและแตกต่าง
ระหว่างปรัชญา ศาสนา และระบบศีลธรรม
และกระทั่งอนุรักษนิยมกับเสรีนิยม
ความสุขไม่ได้อยู่ที่ใดที่หนึ่ง ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือฟากใดฟากหนึ่ง
แต่หนังสือเล่มนี้บอกเราว่า เราจะค้นหาความสุขได้ ก็ในพื้นที่เวิ้งว้างระหว่างฟากฝั่งเหล่านั้น
ความสุขอาจไม่ใช่เรื่องซับซ้อน
แต่การจะเข้าใจความสุขได้อย่างถ่องแท้เป็นเรื่องซับซ้อน
แต่นั่นจะทำให้เรารู้ – ว่าความสุขคืออะไร
และเราต้องทำอย่างไร – ถึงจะมีความสุข